ก้าวผ่านความผันผวนของตราสารทุนและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
สหรัฐอเมริกากำลังเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ท่ามกลางความขัดแย้งในยุโรปที่กระทบต่อตลาดทุนและผลักให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ความผันผวนเป็นความท้าทายของนักลงทุนมาโดยตลอด แต่การนำสินทรัพย์ที่ถืออยู่ในมือมาสร้างสภาพคล่องอาจจะช่วยให้นักลงทุนกระจายและจัดการความเสี่ยงได้
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในรอบสามปีไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ในตลาดตราสารทุนทั่วโลกดีขึ้นแต่อย่างใด การตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ 0.25% เมื่อวันที่ 16 มีนาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูง ทว่า นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา นักลงทุนเกิดความกังวลว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจผลักให้เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากผลกระทบจากสงครามเห็นได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
สหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2018 ก่อนจะลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นศูนย์เมื่อโลกเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2020 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตลาดก็จับตามองว่าเมื่อไหร่ธนาคารกลางจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งเฝ้าติดตามสัญญาณชี้วัดทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคา
เมื่อเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ทำสถิติเพิ่มสูงขึ้นในรอบ 40 ปี โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าในเดือนมกราคม การที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อไหร่นั้นเป็นข้อสรุปที่ทราบกันอยู่แล้ว หลังจากนั้นมีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 0.5% ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พร้อมทั้งมีการส่งสัญญาณว่าจะปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 2.5% ภายในสิ้นปี 2022
แต่สิ่งที่สร้างความกังวลให้กับตลาดตราสารทุนก็คือ ปัจจุบันเงินเฟ้อกำลังกดดันให้เฟดต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในเวลาที่ไม่เหมาะสม
การที่รัสเซียบุกยูเครนทำให้เกิดการคว่ำบาตรระหว่างประเทศในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกถีบตัวสูงขึ้น และยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับเงินเฟ้อที่สูงอยู่แล้ว ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ US$139.13 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา นี่เป็นเหตุผลให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อชะลอการขยับขึ้นของราคา แต่ในทางกลับกัน แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับระบบพลังงานทั่วโลกอาจส่งผลอย่างรุนแรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ราคาน้ำมันพุ่งสูงสร้างผลเสียอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจมาโดยตลอดในอดีต โดยเฉพาะหลังสงครามยมคิปปูร์ในปี 1973 และการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 ซึ่งเหตุการณ์ทั้งสองตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงของสหรัฐอเมริกา
Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์โต้แย้งว่า สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยเมื่อ 50 ปีก่อนไม่ได้มาจากราคาน้ำมัน แต่มาจากการตอบสนองทางนโยบาย โดยเตือนเฟดว่าอย่ายอมถูก “กลั่นแกล้ง” จนต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหมือนกับในทศวรรษที่ 1970 อย่างเด็ดขาด
ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ว่าเฟดจะตอบสนองอย่างไรในช่วงที่เหลือของปี 2022 ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพิจารณาจากความคืบหน้าของสงครามในยูเครน แต่ถึงกระนั้น ประวัติศาสตร์ก็ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนมากขึ้น
หุ้นเติบโตได้รับผลกระทบอย่างหนักอยู่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนต้องคำนึงถึงผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง (Risk premium) สำหรับกระแสเงินสดในอนาคตด้วย จากข้อมูลเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม มูลค่าของดัชนี US Nasdaq ร่วงลง 25% นับจากต้นปี
ในขณะที่ภาคธุรกิจเทคโนโลยีบางส่วนยิ่งดิ่งหนัก หุ้นสัญชาติจีนในสหรัฐฯ กอดคอพากันร่วง ในขณะที่ความกังวลว่าสหรัฐฯ จะใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมกับจีนและการนำมาตรการล็อกดาวน์ช่วงโควิดกลับมาใช้อีกครั้ง จะทำให้การเติบโตในอนาคตที่ดูสิ้นหวังอยู่แล้วเลวร้ายลงไปอีก สินทรัพย์ดิจิทัลเองก็อยู่ในภาวะเลวร้ายไม่แพ้กัน โดยราคาของเงินดิจิทัลสกุลใหญ่ๆ ร่วงลงมา 30% ขึ้นไปในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม
หลุมหลบภัย
การจัดการความผันผวนเช่นนี้ถือเป็นความท้าทายของนักลงทุนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ถือหุ้นที่ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ในหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม การจัดหาเงินทุนจากส่วนทุน (Equity financing) ที่มีการจัดโครงสร้างอย่างรอบคอบ จะช่วยให้นักลงทุนกระจายความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งสิทธิประโยชน์ในการได้รับผลตอบแทนระยะยาวจากสินทรัพย์อ้างอิง
สินเชื่อที่ใช้หุ้นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจะช่วยให้นักลงทุนจัดหาเงินทุนได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อนำไปใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนชนะสภาพเศรษฐกิจที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น หลังจากลงทุนในหุ้นเติบโตที่ให้ผลตอบแทนแข็งแกร่ง ผู้ถือหุ้นอาจจะพิจารณานำหุ้นส่วนหนึ่งในพอร์ตของตัวเองมาเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อนำไปลงทุนใน หุ้นคุณค่าที่มีคุณภาพสูง ซึ่งปกติมักจะให้ผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีเมื่อดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น
ผู้ถือหุ้นระยะยาวสามารถใช้การจัดหาเงินทุนจากส่วนทุน (Equity financing) เป็นช่องทางในการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากหุ้นที่ใช้เป็นหลักประกันช่วยลดความเสี่ยงให้กับผู้ให้สินเชื่ออยู่แล้ว นอกจากนี้ การจัดหาเงินทุนจากส่วนทุน (Equity financing) ยังช่วยให้นักลงทุนยังคงได้รับกำไรจากราคาหุ้นอ้างอิงในระยะยาว รวมถึงเงินปันผลด้วย
EquitiesFirst พร้อมร่วมงานกับนักลงทุนที่มิใช่รายย่อย (Accredited investor) นักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญสูง (Professional investor) และนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง (Qualified investor) กลุ่มอื่น ๆ โดยจะนำประสบการณ์ด้านการทำธุรกรรมจัดหาเงินทุนแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันมาใช้ในการหารือเกี่ยวกับวิธีลดความเสี่ยงในตลาดตราสารทุนท่ามกลางแนวโน้มว่าจะมีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้รับประกันผลตอบแทนในอนาคต และไม่มีการรับประกันหรือรับรองผลตอบแทนของแต่ละบุคคล
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ได้รับการรับรอง นักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ นักลงทุนมืออาชีพ หรือนักลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายอื่น ๆ กำหนดเท่านั้น และไม่ได้จัดทำขึ้นสำหรับและไม่ควรใช้โดยบุคคลที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเนื้อหาที่มีลักษณะทั่วไปและไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หรือความต้องการทางการเงินที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ มุมมองและความคิดเห็นที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นโดยบุคคลที่ภายนอก และอาจไม่ได้สะท้อนมุมมองและความคิดเห็นของ EquitiesFirst นอกจากนี้ EquitiesFirst ไม่ได้ตรวจสอบหรือยืนยันข้อมูลที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้ด้วยตนเอง และไม่ได้รับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือสมบูรณ์ ความคิดเห็นและข้อมูลในเอกสารฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เนื้อหาที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้ไม่ถือเป็นการเสนอขาย (หรือการชักชวนให้ซื้อ) หลักทรัพย์ การลงทุน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใด ๆ (“ข้อเสนอ”) ข้อเสนอใด ๆ ดังกล่าวจะต้องดำเนินการผ่านการเสนอขายที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีการระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น ข้อมูลใด ๆ ในเอกสารฉบับนี้ไม่ถือเป็นการแนะนำ การจูงใจ การเชิญชวน การโน้มน้าว การส่งเสริมการขาย หรือเป็นข้อเสนอให้ซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์การลงทุนใด ๆ จาก Equities First Holdings, LLC หรือบริษัทย่อยของ Equities First Holdings, LLC (เรียกรวมกันว่า ” EquitiesFirst”) และไม่ควรตีความในทางใดทางหนึ่งว่าเอกสารฉบับนี้เป็นการแนะนำด้านการลงทุน กฎหมาย หรือภาษี รวมถึงการแนะนำ การอ้างอิง หรือการรับรองจาก EquitiesFirst ท่านควรเสาะหาคำแนะนำทางการเงินด้วยตนเองก่อนตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
เอกสารฉบับนี้ประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาของ EquitiesFirst ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงโลโก้ต่าง ๆ และเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียน ตลอดจนเครื่องหมายบริการที่เกี่ยวข้องตามลำดับ EquitiesFirst ขอสงวนสิทธิ์ทั้งหมดในทรัพย์สินทางปัญญาที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ เอกสารฉบับนี้ไม่ควรนำไปแจกจ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้รับสามารถส่งต่อเนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วนของเอกสารฉบับนี้ไปยังผู้อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอกสารฉบับนี้ไม่ควรนำไปแจกจ่ายให้แก่บุคคลในประเทศใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายหรือระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
EquitiesFirst ไม่รับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับเอกสารฉบับนี้ และขอปฏิเสธอย่างชัดแจ้งต่อการรับประกันโดยนัยใด ๆ ภายใต้กฎหมาย ท่านรับทราบว่า EquitiesFirst จะไม่ต้องรับผิดในทุกกรณี สำหรับความเสียหายทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่เป็นกรณีพิเศษ ที่เป็นผลสืบเนื่อง โดยไม่เจตนา หรือที่เป็นการลงโทษ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการสูญเสียผลประโยชน์หรือการสูญเสียโอกาสใด ๆ แม้ว่า EquitiesFirst จะรับทราบถึงความเป็นไปได้ของความเสียหายดังกล่าวก็ตาม
EquitiesFirst ได้จัดทำคำแถลงการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจบังคับใช้ในเขตอำนาจศาลที่ระบุไว้
ประเทศออสเตรเลีย: Equities First Holdings (Australia) Pty Ltd (หมายเลขทะเบียนบริษัท: 142 644 399) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตบริการทางการเงินของประเทศออสเตรเลีย (หมายเลข AFSL: 387079) สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด
ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้มีไว้สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียและจัดเป็นลูกค้าสำหรับการค้าส่ง (Wholesale Client) ตามที่ระบุในมาตรา 761G แห่งพระราชบัญญัติบริษัท ค.ศ. 2001 (Corporations Act 2001)เท่านั้นการเผยแพร่ข้อมูลให้บุคคลอื่นใดที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นอาจมีข้อจำกัดตามกฎหมาย ทั้งนี้ บุคคลใดที่มีข้อมูลดังกล่าวในครอบครองควรเสาะหาคำแนะนำและทำความเข้าใจข้อจำกัดดังกล่าว เนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ควรตีความว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเสนอ การจูงใจ หรือคำแนะนำในการซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลในลักษณะทั่วไป และไม่ใช่คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่วนบุคคล คำแนะนำใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้เป็นคำแนะนำทั่วไปเท่านั้น และจัดทำขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ สถานการณ์หรือความต้องการทางการเงินของผู้ลงทุน ก่อนดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ ท่านควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าว และลักษณะของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ สถานการณ์ และความต้องการทางการเงินของท่านท่านควรเสาะหาคำแนะนำทางการเงินด้วยตนเอง และอ่านคำแถลงการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือเอกสารข้อเสนออื่น ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง: Equities First Holdings Hong Kong Limitedได้รับใบอนุญาตภายใต้กฎหมายผู้ให้กู้ยืมในฮ่องกง (หมายเลขใบอนุญาตผู้ให้กู้เลขที่ 1681/2023)และดำเนินธุรกิจด้านการจัดการกับหลักทรัพย์ (ใบอนุญาตประเภทที่ 1)ภายใต้กฎหมายการกำกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของฮ่องกง (“SFO”) (หมายเลข CEเลขที่ BFJ407)เอกสารฉบับนี้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของฮ่องกงนอกจากนี้เอกสารฉบับนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเสนอการขายหลักทรัพย์ หรือชักจูงให้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่จัดการหรือจัดหาโดย Equities First Holdings Hong Kong Limitedแต่จัดทำขึ้นสำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นนักลงทุนมืออาชีพภายใต้ SFOเท่านั้นเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ส่งถึงบุคคลหรือองค์กรที่จะทำให้ข้อเสนอหรือคำเชิญชวนดังกล่าวผิดกฎหมายหรือถูกต้องห้าม
ประเทศเกาหลี: เอกสารข้างต้นจัดทำขึ้นสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญ นักลงทุนมืออาชีพ หรือนักลงทุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอต่อการทำธุรกรรมการจัดหาเงินทุนหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะเจาะจง และไม่ได้จัดทำขึ้นสำหรับและไม่ควรใช้โดยบุคคลที่มีลักษณะไม่ตรงตามข้อกำหนดข้างต้น
สหราชอาณาจักร: Equities First (London) Limited ได้รับการรับรองและควบคุมในสหราชอาณาจักรโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน (” FCA”) ในสหราชอาณาจักร เอกสารฉบับนี้ได้แจกจ่ายให้แก่บุคคลที่มีลักษณะเป็นไปตามมาตรา 19(5) (นักลงทุนมืออาชีพ) และมาตรา 42(2) (บริษัทที่มีมูลค่าสุทธิสูง สมาคมอิสระ ฯลฯ) ในส่วนที่ 4 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องบริการทางการเงินและตลาด ค.ศ. 2000 (การสนับสนุนทางการเงิน) คำสั่ง ค.ศ. 2005 (“FPO”) เท่านั้น และกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอนี้จะใช้ได้เฉพาะกับบุคคลดังกล่าวและมีเพียงแค่บุคคลดังกล่าวเท่านั้นที่จะสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวได้ บุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ระดับมืออาชีพในการลงทุน หรือบุคคลที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามมาตรา 49 ของ FPO ไม่ควรใช้เอกสารนี้ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นนักลงทุนมืออาชีพภายใต้หน่วยงานที่ให้การกำกับการให้บริการด้านการลงทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงินในพื้นที่ภาคพื้นยุโรป (MiFID) เท่านั้น