การลงทุนแบบสมาร์ทเบต้า (Smart Beta) กลายมาเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมได้อย่างไร

เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และราคาพลังงาน ไปถึงความกังวลทางภูมิศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับสงครามยูเครน ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่าตลาดทุนจะยังคงผันผวนต่อไป

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีความคิดเห็นตรงกันในวงกว้างเกี่ยวกับวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลงทุน

ผลการศึกษาวิจัยครั้งสำคัญของ EquitiesFirst ร่วมกับ Institutional Investor พบว่า กลยุทธ์แบบสมาร์ทเบต้าได้รับความนิยมมากกว่าเมื่อมีการขอให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในสถาบันการเงินทั่วโลกจัดลำดับกลยุทธ์การลงทุนสองแบบที่เชื่อว่าจะให้ผลตอบแทนสูงในอีกสองปีข้างหน้า โดยการลงทุนแบบสมาร์ทเบต้าได้รับความนิยมเป็นพิเศษจากนักลงทุนที่เน้นลงทุนในตลาดทุนที่มีสภาพคล่องและพัฒนามากที่สุดในโลก ส่วนนักลงทุนในตลาดที่กำลังพัฒนาชื่นชอบกลยุทย์การลงทุนเชิงรุกที่ใช้การวิเคราะห์พื้นฐานจากล่างขึ้นบนมากกว่า

ที่มาของรูปภาพ: https://equitiesfirst.com/int/ii-partnership/

การลงทุนแบบสมาร์ทเบต้าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนในตลาดแบบถือยาว โดยมีการนำกฎปัจจัยบางอย่างของการจัดการการลงทุน เชิงรุกมาประยุกต์ใช้ เช่น คุณค่า โมเมนตัม ความผันผวนต่ำ และคุณภาพ เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนแบบอิงตามดัชนีตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนมองว่าการลงทุนแบบสมาร์ทเบต้าเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แบบและยกระดับประสิทธิภาพโดยรวมให้กับพอร์ตการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง และมีต้นทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มีการจัดการแบบเชิงรุก

น้ำหนักของปัจจัยต่างๆ ที่ใช้กับกองทุนสมาร์ทเบต้าสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนแปลงไป นั่นแปลว่ากองทุนประเภทนี้จะปรับสัดส่วนของการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ได้บ่อยกว่ากองทุนดัชนีแบบดั้งเดิม[1]

ดังนั้น บางครั้งเราจึงเรียกกองทุน ETF แบบสมาร์ทเบต้าว่าเป็นกองทุน “กึ่งเชิงรุก” ซึ่งถึงแม้ว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มว่าจะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทกองทุนดัชนีแบบแพสซีฟที่อิงมูลค่าตามราคาตลาด แต่ค่าธรรมเนียมยังถือว่าต่ำกว่ากองทุนที่จัดการแบบเชิงรุกอย่างเห็นได้ชัด

สมดุลเปลี่ยนไปแล้ว

ปีที่แล้วเกิดเหตุการณ์สำคัญคือ นักลงทุนค่อยๆ เอาใจออกหากจากกองทุนตราสารทุนที่มีการจัดการแบบเชิงรุก โดยมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของกองทุนรวมดัชนีสูงกว่ากองทุนแบบเชิงรุกเป็นครั้งแรก[2] กองทุน ETF แบบสมาร์ทเบต้าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การลงทุนแบบอิงตามดัชนีเติบโตขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 16% ของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) ในกองทุน ETF ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ณ สิ้นปี 2022[3] และเมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตในปัจจุบัน คาดการณ์กันว่า AUM จะสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2023

นอกจากจะเหมาะสมกับสภาพตลาดในปัจจุบันแล้ว เห็นได้ชัดว่ากลยุทธการลงทุนแบบสมาร์ทเบต้าเป็นที่นิยมเนื่องจากมีผลการดำเนินงานทางการเงินที่แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา โดยให้ผลตอบแทนสูงถึง 15%[4] ในปีที่แล้ว แม้แต่ตอนที่ตลาดหลักปรับตัวลดลงประมาณ 20% โดยในบรรดากองทุนเหล่านี้ ปรากฏว่ากองทุน ETF ที่พิจารณาปัจจัยหลายอย่าง หรือ Multi-factor ETF (มีหลักการตรงกันข้ามกับกองทุนที่ให้น้ำหนักเพียงหนึ่งปัจจัย) ถือว่า “ได้รับความนิยมอย่างมาก”

ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกตลาด

อย่างไรก็ตามกองทุน ETF แบบสมาร์ทเบต้าอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนในตลาดทุกแบบจากข้อมูลและบทสัมภาษณ์ที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นในการศึกษาวิจัยของ EquitiesFirst x Institutional Investorพบว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบนี้เหมาะกับตลาดที่พัฒนาแล้วในอเมริกาเหนือยุโรปและเอเชียแปซิฟิกมากกว่าตลาดกำลังพัฒนาหรือตลาดใหม่สาเหตุสำคัญเป็นเพราะประสิทธิภาพและปริมาณการเทรดที่แข็งแกร่งของตลาด

ตัวอย่างเช่น นักลงทุนที่เน้นลงทุนในอเมริกาเหนือสังเกตเห็นว่า เป็นไปได้ยากที่กลยุทธ์การเลือกหุ้นแบบเชิงรุกจะเอาชนะตลาดในประเทศได้ ผู้จัดการพอร์ตการลงทุนที่เน้นลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วในช่วงสิบปีที่ผ่านมามักจะทุ่มเม็ดเงินจำนวนมากซื้อตราสารทุนที่มีมูลค่าตลาดสูงและถือยาวเพื่อรับผลตอบแทนอิงตามดัชนีที่เกี่ยวข้อง และลงทุนเป็นส่วนน้อยในหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำและตลาดใหม่ เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเกินในตลาดรอบนอก

ในทางตรงกันข้าม ในตลาดใหม่ที่มีลักษณะสำคัญคือความไม่มีประสิทธิภาพ ผู้จัดการกองทุนที่มีทักษะสูงก็สามารถสร้างผลตอบแทนเหนือกว่าตลาดในภาพรวมได้อย่างน่าเชื่อถือ

ในตลาดที่มีความเสี่ยงสูง/ผลตอบแทนสูงอย่างตลาดกำลังพัฒนาในยุโรปและเอเชียแปซิฟิก ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนบางครั้งก็ไม่แน่นอนและมีปริมาณการซื้อขายเบาบาง ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การลงทุนแบบกระจุกตัวโดยเลือกหุ้นคุณภาพ มักจะถูกมองว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูง

หากพิจารณาในภาพกว้าง ๆ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักลงทุนสถาบันให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงและกลยุทธ์การลงทุนแบบอิงตามดัชนีเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดพอร์ตการลงทุนในตลาดทุน ส่วนนักลงทุนบุคคลทั่วไปก็สามารถนำแนวทางที่คล้ายคลึงกันมาใช้ผ่านกองทุนแบบสมาร์ทเบต้าได้

ปัจจุบัน มีกองทุน ETF แบบสมาร์ทเบต้าถึง 1,275 กองทุนจดทะเบียนในตลาด 48 แห่งใน 38 ประเทศทั่วโลก[5] ซึ่งหมายความว่านักลงทุนมีทางเลือกมากมาย นักลงทุนควรให้ความสนใจกับข้อแตกต่างที่สำคัญๆ ของกองทุนแต่ละกอง โดยจะต้องประเมินคุณค่าและความสัมพันธ์กับดัชนีในปัจจุบัน รวมไปถึงอคติและปัจจัยเฉพาะที่กลยุทธ์แต่ละแบบนำมาใช้ นอกจากนี้ยังควรพิจารณาว่าบริษัทใดบ้างที่ส่งผลต่อดัชนีอ้างอิงและบริษัทใดที่บริหารจัดการกองทุน ETF

หลังจากตัดสินใจเลือกกองทุน ETF แบบสมาร์ทเบต้าได้แล้ว นักลงทุนสามารถขอสินเชื่อแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อให้มีสภาพคล่องมาซื้อกองทุนดังกล่าว การใช้ตราสารทุนหรือคริปโตมาเป็นหลักประกัน จะทำให้นักลงทุนมีแหล่งเงินทุนที่ยืดหยุ่น คุ้มค่า และเสถียร รวมทั้งช่วยให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนสถานะการลงทุนและกลยุทธ์ได้อย่างคล่องตัว โดยไม่ต้องเสียประโยชน์ที่จะได้รับจากการถือหลักทรัพย์อ้างอิงเหล่านั้นไป

ตลาดทุนทั่วโลกน่าจะยังมีความผันผวนต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักลงทุนตราสารทุนในการเลือกทิศทางการลงทุน แบบสำรวจความคิดเห็นของนักลงทุนสถาบันชี้ว่า กลยุทธ์การลงทุนแบบสมาร์ทเบต้าควรค่าแก่การพิจารณา


[1] https://www.ishares.com/us/education/smart-beta

[2] https://www.ft.com/content/27b5e047-5080-4ebb-b02a-0bf4a3b9bc08

[3] https://www.marketwatch.com/story/active-vs-passive-why-active-etfs-face-competition-from-quasi-active-smart-beta-funds-in-u-s-stock-market-11674157788

[4] https://www.ft.com/content/d1d866f3-2d65-43d5-801e-a6b303d01b38

[5] https://etfgi.com/news/press-releases/2022/12/etfgi-reports-smart-beta-etfs-listed-globally-gathered-us755-billion#:~:text=There%20were%201%2C275%20smart%20beta,at%20the%20end%20of%20November.

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้รับประกันผลตอบแทนในอนาคต และไม่มีการรับประกันหรือรับรองผลตอบแทนของแต่ละบุคคล

เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ได้รับการรับรอง นักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ นักลงทุนมืออาชีพ หรือนักลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายอื่น ๆ กำหนดเท่านั้น และไม่ได้จัดทำขึ้นสำหรับและไม่ควรใช้โดยบุคคลที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเนื้อหาที่มีลักษณะทั่วไปและไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หรือความต้องการทางการเงินที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ มุมมองและความคิดเห็นที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นโดยบุคคลที่ภายนอก และอาจไม่ได้สะท้อนมุมมองและความคิดเห็นของ EquitiesFirst นอกจากนี้ EquitiesFirst ไม่ได้ตรวจสอบหรือยืนยันข้อมูลที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้ด้วยตนเอง และไม่ได้รับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือสมบูรณ์ ความคิดเห็นและข้อมูลในเอกสารฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เนื้อหาที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้ไม่ถือเป็นการเสนอขาย (หรือการชักชวนให้ซื้อ) หลักทรัพย์ การลงทุน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใด ๆ (“ข้อเสนอ”) ข้อเสนอใด ๆ ดังกล่าวจะต้องดำเนินการผ่านการเสนอขายที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีการระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น ข้อมูลใด ๆ ในเอกสารฉบับนี้ไม่ถือเป็นการแนะนำ การจูงใจ การเชิญชวน การโน้มน้าว การส่งเสริมการขาย หรือเป็นข้อเสนอให้ซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์การลงทุนใด ๆ จาก Equities First Holdings, LLC หรือบริษัทย่อยของ Equities First Holdings, LLC (เรียกรวมกันว่า ” EquitiesFirst”) และไม่ควรตีความในทางใดทางหนึ่งว่าเอกสารฉบับนี้เป็นการแนะนำด้านการลงทุน กฎหมาย หรือภาษี รวมถึงการแนะนำ การอ้างอิง หรือการรับรองจาก EquitiesFirst ท่านควรเสาะหาคำแนะนำทางการเงินด้วยตนเองก่อนตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

เอกสารฉบับนี้ประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาของ EquitiesFirst ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงโลโก้ต่าง ๆ  และเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียน ตลอดจนเครื่องหมายบริการที่เกี่ยวข้องตามลำดับ EquitiesFirst ขอสงวนสิทธิ์ทั้งหมดในทรัพย์สินทางปัญญาที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ เอกสารฉบับนี้ไม่ควรนำไปแจกจ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้รับสามารถส่งต่อเนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วนของเอกสารฉบับนี้ไปยังผู้อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอกสารฉบับนี้ไม่ควรนำไปแจกจ่ายให้แก่บุคคลในประเทศใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายหรือระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

EquitiesFirst ไม่รับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับเอกสารฉบับนี้ และขอปฏิเสธอย่างชัดแจ้งต่อการรับประกันโดยนัยใด ๆ ภายใต้กฎหมาย ท่านรับทราบว่า EquitiesFirst จะไม่ต้องรับผิดในทุกกรณี สำหรับความเสียหายทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่เป็นกรณีพิเศษ ที่เป็นผลสืบเนื่อง โดยไม่เจตนา หรือที่เป็นการลงโทษ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการสูญเสียผลประโยชน์หรือการสูญเสียโอกาสใด ๆ แม้ว่า EquitiesFirst จะรับทราบถึงความเป็นไปได้ของความเสียหายดังกล่าวก็ตาม

EquitiesFirst ได้จัดทำคำแถลงการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจบังคับใช้ในเขตอำนาจศาลที่ระบุไว้

ประเทศออสเตรเลีย: Equities First Holdings (Australia) Pty Ltd (หมายเลขทะเบียนบริษัท: 142 644 399) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตบริการทางการเงินของประเทศออสเตรเลีย (หมายเลข AFSL: 387079) สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด

ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้มีไว้สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียและจัดเป็นลูกค้าสำหรับการค้าส่ง (Wholesale Client) ตามที่ระบุในมาตรา 761G แห่งพระราชบัญญัติบริษัท ค.ศ. 2001 (Corporations Act 2001)เท่านั้นการเผยแพร่ข้อมูลให้บุคคลอื่นใดที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นอาจมีข้อจำกัดตามกฎหมาย ทั้งนี้ บุคคลใดที่มีข้อมูลดังกล่าวในครอบครองควรเสาะหาคำแนะนำและทำความเข้าใจข้อจำกัดดังกล่าว เนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น  และไม่ควรตีความว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเสนอ การจูงใจ หรือคำแนะนำในการซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลในลักษณะทั่วไป และไม่ใช่คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่วนบุคคล คำแนะนำใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้เป็นคำแนะนำทั่วไปเท่านั้น และจัดทำขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ สถานการณ์หรือความต้องการทางการเงินของผู้ลงทุน ก่อนดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ ท่านควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าว และลักษณะของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ สถานการณ์ และความต้องการทางการเงินของท่านท่านควรเสาะหาคำแนะนำทางการเงินด้วยตนเอง และอ่านคำแถลงการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือเอกสารข้อเสนออื่น ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

เขตบริหารพิเศษฮ่องกง: Equities First Holdings Hong Kong Limitedได้รับใบอนุญาตภายใต้กฎหมายผู้ให้กู้ยืมในฮ่องกง (หมายเลขใบอนุญาตผู้ให้กู้เลขที่ 1681/2023)และดำเนินธุรกิจด้านการจัดการกับหลักทรัพย์ (ใบอนุญาตประเภทที่ 1)ภายใต้กฎหมายการกำกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของฮ่องกง (“SFO”) (หมายเลข CEเลขที่ BFJ407)เอกสารฉบับนี้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของฮ่องกงนอกจากนี้เอกสารฉบับนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเสนอการขายหลักทรัพย์ หรือชักจูงให้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่จัดการหรือจัดหาโดย Equities First Holdings Hong Kong Limitedแต่จัดทำขึ้นสำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นนักลงทุนมืออาชีพภายใต้ SFOเท่านั้นเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ส่งถึงบุคคลหรือองค์กรที่จะทำให้ข้อเสนอหรือคำเชิญชวนดังกล่าวผิดกฎหมายหรือถูกต้องห้าม

ประเทศเกาหลี: เอกสารข้างต้นจัดทำขึ้นสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญ นักลงทุนมืออาชีพ หรือนักลงทุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอต่อการทำธุรกรรมการจัดหาเงินทุนหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะเจาะจง และไม่ได้จัดทำขึ้นสำหรับและไม่ควรใช้โดยบุคคลที่มีลักษณะไม่ตรงตามข้อกำหนดข้างต้น

สหราชอาณาจักร: Equities First (London) Limited ได้รับการรับรองและควบคุมในสหราชอาณาจักรโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน (” FCA”) ในสหราชอาณาจักร เอกสารฉบับนี้ได้แจกจ่ายให้แก่บุคคลที่มีลักษณะเป็นไปตามมาตรา 19(5) (นักลงทุนมืออาชีพ) และมาตรา 42(2) (บริษัทที่มีมูลค่าสุทธิสูง สมาคมอิสระ ฯลฯ) ในส่วนที่ 4 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องบริการทางการเงินและตลาด ค.ศ. 2000 (การสนับสนุนทางการเงิน) คำสั่ง ค.ศ. 2005 (“FPO”) เท่านั้น และกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอนี้จะใช้ได้เฉพาะกับบุคคลดังกล่าวและมีเพียงแค่บุคคลดังกล่าวเท่านั้นที่จะสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวได้ บุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ระดับมืออาชีพในการลงทุน หรือบุคคลที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามมาตรา 49 ของ FPO ไม่ควรใช้เอกสารนี้ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นนักลงทุนมืออาชีพภายใต้หน่วยงานที่ให้การกำกับการให้บริการด้านการลงทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงินในพื้นที่ภาคพื้นยุโรป (MiFID) เท่านั้น